ผู้ผลิต-จัดจำหน่ายสินค้าการเกษตรตราคนยิงธนู

ผู้ผลิต-จัดจำหน่ายสินค้าการเกษตรตราคนยิงธนู

ผู้ผลิต-จัดจำหน่ายสินค้าการเกษตรตราคนยิงธนู

พลาสติกใสในงานก่อสร้าง

เคล็ดลับการใช้พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต เพื่อคอนกรีตที่แข็งแรงและทนทาน

         งานก่อสร้างที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้าง การเตรียมพื้นก่อนการเทคอนกรีตถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม วัสดุที่นิยมใช้ในการปูรองพื้นก่อนเทคอนกรีตนั้นก็คือ พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต หรือ พลาสติกใส

         ซึ่งทำหน้าที่เป็นแผ่นพลาสติกบางๆป้องกันระหว่างคอนกรีตและพื้นดิน พลาสติกชนิดนี้ไม่เพียงช่วยป้องกันความชื้นและกรดด่างจากดินที่อาจส่งผลเสียต่อคอนกรีต แต่ยังช่วยควบคุมกระบวนการบ่มตัวของคอนกรีตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

         ด้วยคุณสมบัติของพลาสติกปูรองพื้นเช่น การกันน้ำ น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย และราคาไม่สูงมากนัก พลาสติกปูรองพื้นจึงกลายเป็นวัสดุที่ต้องมีในงานก่อสร้าง   ไม่ว่าจะเป็นงานพื้นอาคาร ที่จอดรถ หรือโครงสร้างที่ต้องการมาตรฐานสูง เช่น บ้านน็อคดาวน์

         โดยบทความนี้จะพาไปรู้จักกับประโยชน์ของพลาสติกปูรองพื้นก่อนเทคอนกรีต และการนำไปใช้งานของพลาสติกปูรองพื้นก่อนเทคอนกรีตกัน

พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต คืออะไร ลักษณะเป็นอย่างไร

         โดยการผลิตนั้นทำจากพลาสติกโพลีเอทิลีน (Polyethylene) PE ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่นและทนต่อการฉีกขาดพลาสติกปูพื้นส่วนใหญ่จะมีสีขาวขุ่น โดยความหนา พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต ที่แนะนำให้ใช้ก็คือ 80ไมครอน ไปจนถึง 120ไมครอน กำลังดี

พลาสติกปูพื้น

          ไม่แนะนำให้น้อยไปกว่านี้หรือมากกว่านี้ จะบางเกินไป และหนาเกินไปในการใช้บ่มคอนกรีต ส่วนการใช้งานในด้านอื่นๆก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น การนำไปทำบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงแหนแดง ปูรองพื้นก่อนวางของป้องกันความชื้นจากพื้นดิน คลุมสิ่งของ

พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีตนั้นดีอย่างไร

         พลาสติกปูรองพื้นนั้นมีความสำคัญมากในการใช้ทำพื้นคอนกรีต ช่วยเสริมความทนทานของคอนกรีตได้เป็นอย่างดี รวมไปเพิ่มอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น กว่าการไม่ได้ใช้พลาสติก ลงทุนครั้งเดียวอยู่ได้หลายสิบปีเลย

         พลาสติกมีความสามารถในเรื่องของกันน้ำและป้องกันความชื้นจากพื้นดิน ป้องกันเชื้อรา ป้องกันปลวกมาสู่คอนกรีต พลาสติกรองพื้นPEยังทนต่อสารเคมีที่เป็นกรด ด่างได้ดีทำให้นิยมใช้ในการบ่มคอนกรีตเพื่อป้องกันการกัดกร่อนจาก กรด ด่าง ความเค็ม ใต้พื้นดิน

พลาสติกปูพื้นก่อนเทคอนกรีต

         ลดความเสี่ยงจากการกัดกร่อนที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างในระยะยาวได้  การปูพลาสติกรองพื้นก่อนเทคอนกรีตนั้น ยังช่วยป้องกันฝุ่น เศษทราย เศษดินที่ใช้ในการถมพื้นเข้ามาผสมในช่วงของการเทคอนกรีตได้

          และช่วยรักษาอุณหภูมิของคอนกรีตป้องกันคอนกรีตแตกร้าวจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือ ความชื้นในระยะยาว ส่งผลให้โครงสร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือปรับปรุงโครงสร้างในอนาคตได้เป็นอย่างดี

การเลือกใช้สแลนกันแดดให้เหมาะสมสำหรับงานก่อสร้างป้องกันเศษฝุ่น : คลิกเลย

การนำไปใช้งานของพลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต

         โดยการนำไปใช้งานนั้นหลักๆเลยก็คืองานก่อสร้างนั่นเอง โดยในงานก่อสร้างนั้น นิยมนำมาปูรองพื้นดินที่ถมกันแน่นจนเป็นพื้นเรียบสวยแล้วจึงใช้พลาสติกปูพื้นปูลงไป โดยเมื่อปูเสร็จแล้ว จึงจะค่อยวางตาข่ายไวร์เมชทับลงบนแผ่นพลาสติกปูรองพื้นอีกทีนึงช่วยทำให้คอนกรีตมีความแข็ง ยืดหยุ่น รับแรงกระแทกได้

         ลดโอกาสการเกิดรอยร้าวจากการบ่มตัวที่ไม่สมบูรณ์ได้เป็นอย่างดี ในการทำพื้นที่คอนกรีต 1 ครั้ง ถ้าม้วนพลาสติกยังเหลือสามารถเก็บไว้ใช้ในรอบถัดไปด้วย หรือ การนำพลาสติกรองพื้นนั้นไปทำบ่อกักเก็บน้ำขนาดเล็ก บ่อเลี้ยงปลาขนาดเล็ก บ่อเลี้ยงพืชน้ำ บ่อปลูกผักสลัด ก็ได้เช่นกัน

วิธีการทำพื้นคอนกรีตโดยใช้พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต

         โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการเตรียมพื้นงานก่อนการเทคอนกรีต โดย วิธีแรกคือการใช้ไม้แบบหล่อคอนกรีตกั้นพื้นที่ที่จะเทคอนกรีตก่อนแล้วทาน้ำมันถอดแบบลงไปเพื่อให้ง่ายต่อการแกะแบบในภายหลังการบ่มคอนกรีต 

         แล้วจึงใช้ดินอัดเข้าไปในพื้นที่ ที่ต้องการเทคอนกรีตโดยจะต้องอัดให้แน่นทุกพื้นที่ การอัดหน้าดินคือการปรับสภาพพื้นผิวก่อนจะทำการเทคอนกรีต โดยจะค่อยๆอัดทีละชั้นชั้นละ 15-30  เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ว่าจะอัดดินมากน้อยแค่ไหน 

         ไม่ควรอัดดินในทีเดียวเพราะจะทำให้ดินชั้นล่างๆไม่มีความหนาแน่นของดินที่ทั่วถึงอาจทำให้เกิดการทรุดตัวในภายหลังได้ ในการอัดหน้าดินในแต่ละชั้น ทำได้ด้วยการใช้เครื่องตบหน้าดิน  เครื่องอัดแบบสั่นสะเทือน ลูกกลิ้ง หรือ จะใช้ค้อนตบหน้าดินก็ได้ 

         เวลาตบอัดหน้าดินในแต่ละชั้นหากดินแห้งเกินไปสามารถฉีดน้ำเพื่อลดความแข็งของดินได้จะช่วยทำให้เวลาอัดหน้าดินจะมีความแน่นมากยิ่งขึ้น ยิ่งดินสลายการจับตัวกันจะทำให้การตบหน้าดินทำได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่การลดน้ำหน้าดินไม่ควรลดจนแฉะเกินไปลดแต่พอดี

ตบอัดหน้าดิน

         เมื่ออัดหน้าดินแน่นมากพอจนถึงระดับตามต้องการแล้วให้ทิ้งหน้าดินไว้สักพักให้ดินแห้งสนิทก่อน แล้วทดสอบดูว่าดินมีความแน่นพอไหม ถ้ายังให้ทำการตบอัดหน้าดินใหม่เพื่อให้หน้าดินมีความแน่น เรียบเสมอกัน

         เมื่อได้ตามต้องการแล้วให้ใช้พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีตปูลงไปก่อนโดยความหนาของพลาสติกปูรองพื้นนั้นแนะนำตั้งแต่ 80 ไมครอน ไปจนถึง 120 ไมครอน โดยการปูถ้าในพื้นที่กว้าง อาจจะต้องตัดแบ่ง หรือใช้หลายม้วน จึงทำให้มีรอยระหว่างผืน

         แนะนำให้แผ่นพลาสติก ทับเกยกันอย่างน้อย 15-30 เซนติเมตรเพื่อป้องกันความชื้นที่จะเล็ดลอดออกมาตามรอยต่อได้ส่งผลต่อการบ่มคอนกรีต เมื่อทำการปูเสร็จแล้ว ใช้ตะแกรงไวร์เมช โดยไวร์เมชจะมีหลายความหนาขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการใช้งานว่ารับน้ำหนักเยอะไหม

พลาสติกรองพื้น

         โดยไวร์เมช หนา 3-4 มิล ตาห่าง20×20เซนติเมตร  เหมาะสำหรับทำลานจอดรถเล็กๆ พื้นที่ทั่วไป ถ้าพื้นที่ที่ต้องรับน้ำหนักเยอะตลอด แรงกดอัดเยอะแนะนำ ไวร์เมช หนา 6-9 มิล ตาห่าง15×15 เซนติเมตร กำลังดี

         เมื่อได้ไวร์เมช ที่ต้องการมาปูแล้ว ให้ทำการใช้ บล็อกไม้  อิฐ หรือ ลูกปูน ที่มีขนาดสูง 5 เซนติเมตร ไม่ยาวจนเกินไป เพื่อรองระหว่าง ไวร์เมช กับ แผ่นพลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต แนะนำให้ใช้ลูกปูนเพื่อป้องกันปลวกได้และเพื่อความแข็งแรง

ไวช์เมช

         โดยในบางพื้นที่อาจจะทำที่วัดระดับคอนกรีตโดยการใช้แท่งเหล็กปักลงพื้นแทงขึ้นมาให้ได้ตามขนาดพื้นที่ต้องการจะเทคอนกรีต จะทำให้ทำงานง่ายตอนปรับระดับพื้นคอนกรีต สิ่งสำคัญในการยกไวร์เมชให้ห่างจากแผ่นพลาสติกปูรองพื้นก็คือป้องกันสนิมที่จะเกินขึ้นกับไวร์เมชในภายหลังได้

         ส่วนในการคำนวณหาปริมาณคอนกรีตนั้น วิธีก็คือการคำนวณหาพื้นที่เหลี่ยม วิธีการคือ ปริมาณคอนกรีตลูกบาศก์เมตร(คิว) =  ความกว้าง (เมตร)× ความยาว (เมตร)×ความสูงที่จะเทคอนกรีต (เมตร)

         ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ ในการเทคอนกรีตพื้นที่ กว้าง5เมตร ยาว5เมตร สูง 0.15 เมตร วิธีคำนวณคือ 5 x 5 x 0.15 จะได้ ปริมาณคอนกรีต 3.75 ลูกบาศก์เมตร(คิว) แต่ตอนสั่งให้เผื่อปริมาณคอนกรีตไปอีก ประมาณ 5 – 10 % จากค่าที่คำนวณได้

         เมื่อเทคอนกรีตในพื้นที่ที่เตรียมไว้แล้ว ให้ใช้เกรียงสามเหลี่ยมปาด เพื่อปรับหน้าผิวคอนกรีต ให้เรียบเสมอกับเหล็ก ที่ปักทำระดับพื้นไว้ก่อนหน้านี้ แล้วจัดแต่งผิวหน้า คอนกรีตให้เรียบเนียน พร้อมเข้าสู่ขั้นตอนการบ่มต่อไป

เทคอนกรีต

การบ่มคอนกรีต

         ในการบ่มคอนกรีตนั้นจะเป็นขั้นตอนที่ต่อจาก การเทคอนกรีต แล้วปรับผิวหน้าคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะเข้าสู่ขั่นตอนการบ่ม การบ่มคอนกรีตคือ กระบวนการที่ช่วยให้คอนกรีตมีกำลังอัด และความแข็งแรงมากพอ

         โดยการรักษาความชื้นและควบคุมอุณหภูมิในช่วงที่คอนกรีตกำลังแข็งตัว เรียกว่าปฏิกิริยาไฮเดรชั่น  หลังจากการเทคอนกรีต กระบวนการนี้สำคัญต่อคุณภาพ ความแข็งแรงของคอนกรีตที่พร้อมจะรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างในระยะยาวได้เป็นอย่างดี

         ยิ่งมีเวลาบ่มนานก็จะยิ่งมีความแข็งสามารถรับกำลังอัดได้ดี โดยระยะเวลาของการบ่มคอนกรีตขั้นต่ำเลยจะอยู่ที่ 7 วัน โดยสามารถรับกำลังอัดได้ 70 % ถ้ามีเวลาบ่มแนะนำ 28 วันขึ้นไป โดยจะสามารถรับกำลังอัดได้ 100%

การบ่มคอนกรีต

         โดยในเวลาการบ่มนั้นจะต้องรักษาความชื้นของคอนกรีตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการรักษาความชื้นในคอนกรีตนั้นสำคัญมากในการทำปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ซึ่งจะส่งผลต่อความแข็งแรงของคอนกรีตได้เป็นอย่างดี

         การรักษาความชื้นใต้คอนกรีตนั้นทำได้ด้วยการใช้พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต ส่วนการป้องกันความชื้นของคอนกรีตไม่ให้ระเหยออก ที่มีให้เห็นส่วนใหญ่จะเป็นการนำกระสอบผ้าที่สะอาดมาคลุมตามพื้นผิวคอนกรีตจะช่วยรักษาความชื้นไม่ให้น้ำระเหยออกให้ความชื้นอยู่ภายในกระสอบได้

         แต่จะมีข้อเสียตรงที่ว่า ถ้าอากาศร้อน น้ำก็จะระเหยออกจากกระสอบไว ต้องหมั่นรดน้ำให้คอนกรีต 3 เวลาต่อวันเลยก็ว่าได้ ข้อดีของการใช้กระสอบก็คือประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้งานง่าย

         ส่วนการใช้พลาสติกปูรองพื้นนั้นก็ทำได้เหมือนกัน ข้อดีก็คือ ถ้าคลุมดีจะช่วยรักษาความชื้นในพื้นคอนกรีตที่บ่มได้เป็นเวลานานอย่างน้อย 2-3 วันแล้วคอยสังเกตความชื้นจากคอนกรีตจึงค่อยรดน้ำอีกครั้ง น้ำหนักเบา ปูได้ง่าย

         ข้อเสียคือถ้าใช้ในพื้นที่กว้างๆ จะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าการใช้กระสอบคลุมผิวคอนกรีต เหมาะปูบ่มคอนกรีตในพื้นที่ที่ไม่ใหญ่  และถ้าทับรอยต่อไม่ดีก็มีโอกาสที่ความชื้นจะระเหยออกไปได้ไว ควรทับเกยกันอย่าน้อย 15 เซนติเมตรในการคลุมผิวคอนกรีต 

         การใช้แผ่นพลาสติกปูรองพื้นนั้นช่วยให้ประหยัดเวลาในการรดน้ำได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถมีเวลาในการทำสิ่งอื่นๆมากขึ้น การบ่มคอนกรีตตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีการบ่มคอนกรีตที่อุณหภูมิปกติ

พลาสติกใสปูพื้น

         วิธีคือการรักษาความชื้นในคอนกรีตให้ได้เวลาที่เหมาะสม โดยจะใช้วัสดุคลุมรักษาความชื้นคอนกรีต หรือจะ บ่มด้วยน้ำยาเคลือบผิวคอนกรีต ก็ได้ ส่วนอีกวิธีจะเป็นการบ่มคอนกรีตที่อุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ความร้อนและความชื้นจากไอน้ำเพื่อเร่งปฏิกิริยาการแข็งตัวของคอนกรีต แต่วิธีนี้เหมาะกับการทำกับพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป เสาเข็มคอนกรีตสำเร็จรูป มากว่านั่นเอง

บ่มคอนกรีตเองกับการใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปต่างกันไหม

การบ่มคอนกรีตเอง และ การใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป นั้นถ้าให้พูดถึงความสะดวกแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปย่อมสะดวกรวดเร็วกว่าแน่นอนแต่การนำไปใช้งานนั้นค่อนข้างแตกต่างกัน

แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป

         คือการบ่มคอนกรีตนั้นจะเหมาะกับการนำมาทำพื้นบ้านชั้น1 พื้นชั้นล่างอาคาร โรงจอดรถ  พื้นที่ที่มีการรับน้ำหนักเยอะๆเป็นเวลานาน ซึ่งการบ่มคอนกรีตเองจะเหมาะกว่า วิธีการทำตั้งแต่เริ่มค่อนข้างซับซ้อน ใช้เวลา และใช้งบเยอะกว่า

         ส่วนการใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จนั้น นิยมใช้ในการทำพื้นบ้านชั้น 2 เป็นต้นไป ซึ่งแผ่นสำเร็จนั้น สะดวกรวดเร็วกว่าโดยปูเป็นแผ่นตามคานวางไวร์เมชปูคอนกรีตได้เลย ถูกกว่า

         แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ที่ต้องเจาะรูบนพื้น เนื่องจากจะกระทบต่อความแข็งแรงได้ ถ้าจะเจาะเพื่อต่อท่อน้ำแนะนำให้ทำพื้นหล่อในที่จะดีกว่าไม่ต้องกังวลเรื่องความชื้น และมีความแข็งแรงที่ใช้ได้ดีในระยะยาว

สรุป

         การใช้พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีตในงานก่อสร้าง คือมาตรฐานสำคัญในการเทคอนกรีตเลยก็ว่าได้ซึ่งการใช้งานนั้นช่วยป้องกันความชื้น ความเค็ม กรด ด่างซึมขึ้นมาจากพื้นดิน และป้องกันความชื้นระเหยออกจากคอนกรีตได้เป็นอย่างดี

         ทำให้ขึ้นตอนการบ่มคอนกรีตสามารถทำได้อย่างเต็มที่ และสิ่งสำคัญในการบ่มคอนกรีตก็คือความชื้น และเวลายิ่งบ่มนานก็จะยิ่งทำให้ คอนกรีตแข็งแรงมากยิ่งขึ้นพร้อมที่จะรับแรงอัดที่มากขึ้นนั่นเอง

พลาสติกปูพื้นเทคอนกรีต

Scroll to Top