สอนการปลูกแตงกวาแบบค้าง ให้ได้ผลผลิตดี ตั้งแต่ต้นจนเก็บเกี่ยว
เมื่อพูดถึงแตงกวา ต้นแตงกวาเป็นพืชไม้เลื้อย ตระกูลเดียวกันกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แต่ก็นิยมปลูกในไทยเช่นกัน เนื่องจากให้ผลผลิตเร็วสร้างรายได้ได้เร็ว
แตงกวาเป็นสิ่งที่แทบจะต้องมีอยู่ตามบ้านเพื่อการประกอบอาหารต่างๆไม่ว่าจะเมนูผัด เมนูยำ หรือจะนำไปดองก็ได้ ซึ่งการปลูกแตงกวาสามารถลงมือทำเองได้ง่ายไม่ว่าปลูกเพื่อจะทำกินภายในครัวเรือนซึ่งจะปลูกลงในกระถางก็ได้ หรือจะปลูกเพื่อหาเป็นรายได้หลักโดยการปลูกเป็นแปลงใหญ่ลงพื้นดินเลย
ซึ่งการปลูกแตงกวาก็จะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไปแต่ที่นิยมส่วนใหญ่จะทำการปลูกแตงกวาแบบค้าง ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างสะดวกสบายเวลาดูแลรักษาตั้งแต่ต้นอ่อนแตงกวา ต้นกล้าแตงกวา ไปจนถึงต้นแตงกวาที่โตเต็มที่จนได้เวลาเก็บเกี่ยวซึ่งจะทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น ประหยัดเวลา และยังดูสวยเป็นระเบียบอีกด้วย
สารบัญ
- แตงกวาเป็นผักหรือผลไม้
- การปลูกแตงกวาแบบค้างสำหรับมือใหม่
- อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปลูกแตงกวาแบบค้าง
- การเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา
- การเพาะต้นกล้าแตงกวา
- การเตรียมพื้นที่ปลูก
- การทำค้างแตงกวา
- การปลูกต้นแตงกวา
- การให้น้ำของต้นแตงกวา
- ดอกของต้นแตงกวา
- การใช้ฮอร์โมนในแต่ละประเภท
- การให้ปุ๋ยต้นแตงกวาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
- การเก็บเกี่ยวแตงกวา อายุการเก็บเกี่ยว
- วิธีการเก็บเกี่ยว
- ข้อควรระวัง
- โรคที่พบได้บ่อยในการปลูกแตงกวาแบบค้าง ปลูกพืชตระกูลแตง
- สรุป
แตงกวาเป็นผักหรือผลไม้
ผลของแตงกวาถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของผลไม้โดยแตงกวานั้นมีส่วนประกอบสำคัญก็คือน้ำและเส้นใยธรรมชาติ ที่มีสารประกอบแร่ธาตุ วิตามินต่างๆ โดยแตงกวานั้นจัดเป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ ที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย กำจัดสารอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิว และเป็นผลดีต่อสุขภาพภายในตัวเราอีกด้วย
แต่ก็ไม่ควรทานเยอะจนเกินไป เช่น แตงกวามีฤทธิ์เย็นหากทานมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสียโดยเฉพาะผู้ที่มีระบบย่อยอาหารอ่อนแอ แตงกวามีสารเคมีบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิดเช่น ยาขับปัสสาวะ
แตงกวามีกรดยูริคอยู่ถ้าร่างกายนำไปกำจัดไม่หมดจะกลายเป็นสารตกค้างในร่างกายซึ่งอาจส่งผลต่อโรคเกาต์ได้ หรือ แตงกวามีแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่ ผู้ที่มีโรคไตควรจำกัดการทานแตงกวาหลีกเลี่ยงสิ่งที่ให้โพแทสเซียมแก่ร่างกาย โดยการรับประทานนั้นก็สามารถรับประทานได้ซึ่งเป็นผลดีแต่ก็ไม่ควรเยอะจนเกินไปจนเป็นโทษต่อร่างกาย
การปลูกแตงกวาแบบค้างสำหรับมือใหม่
การปลูกแตงกวาแบบค้างนั้น จะเพื่อนำไปไว้บริโภคภายในครัวเรือนหรือจะนำไปสร้างเป็นอาชีพหลักในการหารายได้ก็ได้เช่นกัน เนื่องจากแตงกวาเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตไว ออกผลผลิตไว ทำให้ส่งขายได้ไว ราคาดี
เกษตรกรจึงหันมาปลูกแตงกวากันซะส่วนใหญ่เป็น เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกได้ทั้งปีในแต่ละฤดูก็จะให้ผลผลิตที่มากน้อยแตกต่างกันไป
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปลูกแตงกวาแบบค้าง
- เมล็ดพันธุ์แตงกวา เลือกเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ทำการเพาะปลูก
- กล่องพลาสติกสำหรับบ่มเมล็ดให้มีรากแก้วขึ้น
- ถาดเพาะกล้า เพาะต้นอ่อนแตงกวา ก่อนนำไปลงแปลงปลูก
- ตาข่ายปลูกแตงกวา หรือ ตาข่ายปลูกผัก อุปกรณ์สำคัญในการปลูกแตงกวาแบบค้าง
- ผ้ายางคลุมดิน หรือบางพื้นที่เรียก พลาสติกคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้น และป้องกันวัชพืชมาขึ้นแย่งสารอาหารจากต้นไม้
- เสาไม้ไผ่ เสาไม้แข็งแรง สูงอย่างน้อย 2.5 เมตร สำหรับ การทำเสาค้างแตงกวา
- เชือกไนล่อนเขียวขี้ม้าหนาประมาณ 3 มิลลิเมตรขึ้นไป ใช้สำหรับขึงกับตาข่ายปลูกแตงกวา เพื่อการปลูกแตงกวาแบบค้าง
- เทปน้ำหยด จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้าใช้จะทำให้ประหยัดน้ำ ประหยัดเวลา ต้นแตงกวายังได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และยังสามารถให้ปุ๋ยผ่านเทปน้ำหยดเลยก็ได้ ทำให้ง่ายสะดวก การปลูกแตงกวาก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ปุ๋ยสำหรับเพิ่มสารอาหารภายในดินเพื่อการเจริญเติบโตที่ดีของต้นแตงกวา เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยสูตร15-15-15 หรือ 12-24-12
- ดินร่วนปนทรายที่ผ่านการพรวน ตากแดดมาแล้วเพื่อกำจัดวัชพืชทั้งใหม่ และวัชพืชเก่า
การเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา
- เลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี มีคุณภาพจากแหล่งซื้อขายที่ไว้ใจน่าเชื่อถือ
- เลือกดูร้านที่มีการหีบห่อเมล็ดที่ดี ปราศจากความชื้น รอยเจาะ รอยขาดของถุงบรรจุ เพื่อป้องกันศัตรูพืช และเพื่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
- เลือกพันธุ์แตงกวาที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่จะทำการปลูกเพื่อผลผลิตที่ดี
- เลือกพันธุ์ที่มีการต้านทานโรคได้
การเพาะต้นกล้าแตงกวา
- ก่อนนำไปปลูกควรที่จะนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่นอุณหภูมิอยู่ประมาณ 50 องศาเซลเซียสประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนเนื่องจากเปลือกเมล็ดแตงกวาค่อนข้างแข็งจึงต้องทำการกระตุ้นเมล็ดเพื่อการงอกของต้นอ่อนที่เร็วขึ้นและยังช่วยกำจัดเชื้อราในเมล็ดอีกด้วย
- ในระหว่างที่ครบเวลาการแช่เมล็ดในน้ำให้เราคัดเมล็ดที่ลอยน้ำออกเนื่องจากเป็นเมล็ดที่เสีย เมล็ดนั้นจึงลอยน้ำไม่สามารถเจริญเติบโตได้
- เมื่อครบ 1 ชั่วโมงให้นำเมล็ดออกมาพักไว้บนกระดาษทิชชู่หรือผ้าสะอาดที่ผ่านการต้มฆ่าเชื้อมาแล้ว พรมน้ำไว้ให้ชุ่ม เรียงเมล็ดให้พอมีระยะห่างกัน
- ทำการบ่มเมล็ดในกล่องพลาสติก นำทิชชู่ ผ้า ที่มีเมล็ดอยู่ พรมน้ำให้เปียกมาพับใส่ในกล่องพลาสติก ปิดสนิท เก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิคงที่
- ให้พรมละอองน้ำอยู่ตลอดเมื่อผ้า หรือ กระดาษทิชชู่เริ่มแห้งพยายามรักษาความชื้นอยู่ตลอด
- เมื่อเมล็ดมีรากแก้วงอกออกมาแล้วให้ทำการ เตรียมดินร่วนปนทรายที่จะใช้ในการย้ายลงถาดเพาะกล้า แนะนำใช้ดินร่วนปนทรายอาจจะรองพื้นด้วยกากมะพร้าว หรือจะเป็นปุ๋ย แล้วทำการอนุบาลต้นอ่อนแตงกวาในถาดเพาะกล้าเพื่อให้โตเป็นต้นกล้าแข็งแรงพอสัก7-10วันก็พร้อมที่จะลงแปลงปลูกต่อได้
การเตรียมพื้นที่ปลูก
- ควรเป็นพื้นที่โล่งโดนแดดได้อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน
- ดินในบริเวณที่ปลูกควรเป็นดินร่วนปนทรายแตงกวาจะเติบโตได้ดี ระบายน้ำง่าย น้ำไม่ขัง ไม่เสี่ยงเป็นโรคได้ง่าย
- ถ้าเป็นไปได้ควรพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้ง และตากแดดก่อนนำมาใช้งานเพื่อลดการเจริญเติบโตของวัชพืชทั้งใหม่และเก่า
- เมื่อพรวนดินควรที่จะผสมปุ๋ยคอกลงไปด้วยเพื่อสารอาหารที่ดีสำหรับต้นแตงกวา
- กำหนดขนาดพื้นที่หลุมที่จะทำการปลูก แต่ละหลุมควรอยู่ห่างกันประมาณ 30 – 70 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกว่ามีมากน้อยแค่ไหน ยิ่งห่างการระบายอากาศยิ่งดี แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 คลุกปุ๋ยให้เข้ากัน
- นำพลาสติกคลุมดินมาคลุมบนแปลงที่จะทำการปลูก เพราะ ประโยชน์ของพลาสติกคลุมดิน จัดการสิ่งต่างๆได้ง่าย ช่วยรักษาความชื้นภายในดิน ช่วยป้องกันวัชพืชที่จะมาขึ้น และยังปกป้องโรคพืชได้อีกด้วย
การทำค้างแตงกวา
- การปลูกแตงกวาแบบค้างควรเลือกตาข่ายค้างแตงที่สามารถรับน้ำหนักแตงได้ดี (ชมสินค้าตาข่ายค้างแตงได้ภายในร้าน)
- การปลูกแตงกวาแบบค้างควรใช้ไม้ไผ่ที่มีขนาดยาว 2.5 เมตร ปักลงดินประมาณ 0.5 เมตร แข็งแรง ยืดหยุ่นได้ดี เพื่อทดทานต่อการตอกลงไปในดิน เวลามีลมพายุ ก็จะไม่หักโค่นเสียหาย
- การทำค้างแตงกวาในที่นี้จะเป็นการปักไม้ลงไปในดิน แนวตั้ง เป็นแถวยาว เนื่องจากประหยัดพื้นที่ สามารถปลูกได้เยอะ เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย
- การเว้นยะห่างเสาไม้ไผ่ค้างแตงกวา ควรอยู่ประมาณ 2-4 เมตรตามพื้นที่ปลูก เนื่องจาก เมื่อแตงออกผลจำนวนมากๆแล้วจะไม่ทำให้เสาไม้ไผ่เอน หรือ หย่อนได้ เพราะมีเสาไม้ไผ่คอยช่วยกันพยุงอยู่
- การปลูกแตงกวาแบบค้างให้นำเชือกไนล่อนหนา หรือ ลวดสลิง มาขึงด้านบนในด้านนึงก่อน เพื่อที่จะเป็นเชือกที่ร้อยตาข่ายปลูกผัก เชือกไนล่อนจะต้องถูกมัดทั้งด้านบน และด้านล่าง เพื่อความตึงของต่าขายปลูกผัก
การปลูกต้นแตงกวา
- เมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยจึงนำต้นกล้า หรือ เมล็ดที่ผ่านการบ่มมาแล้ว ลงปลูกในหลุม ถ้าเป็นต้นกล้าเฉลี่ยหลุม ละ 2 ต้น ถ้าหยอดเมล็ดควร 2-3 เมล็ดต่อ 1 หลุมปลูก เมื่องอกให้คัดต้นที่แข็งแรง 2 ต้นเพื่อปลูกต่อไป ประโยชน์ของการเพาะต้นกล้าก่อนลงปลูก หลักๆก็คือง่ายต่อการดูแลรักษาในบริเวณกว้างเมื่อเราลงเมล็ดไปนั้นบางเมล็ดอาจจะเสียหายจากมดแมลงได้ หรือ บางเมล็ดอาจจะไม่ได้ผ่านการบ่มมาซึ่งทำให้งอกได้ช้า งอกได้ไม่เต็มที่เพราะดูแลได้ไม่ทั่วถึง
- การปลูกแตงกวาแบบค้างนั้นจะใช้วิธีการนำต้นกล้าลงหลุมปลูกเลยก็ได้ หรือ จะขุดหลุมก่อนแล้วค่อยนำเมล็ดไปหยอดลงหลุมก็ได้ แต่วิธีการเพาะต้นกล้าก่อนลงปลูกจะเป็นวิธีที่สะดวกกว่าตรงที่เราไม่ต้องมาคอยดูแลในระยะพื้นที่บริเวณกว้างดูแลยาก ซึ่งไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมความชื้นได้
- ในขั้นตอนการลงต้นกล้า ควรลงช่วงประมาณ 17:00 ต้นกล้าจะสามารถปรับตัวเข้ากับภาพแวดล้อมได้ดีกว่าการลงกล้าช่วงกลางวันลดอัตราการตายของต้นแตงกวา
การให้น้ำของต้นแตงกวา
- เมื่อลงกล้าในแปลงปลูกแล้วให้พรมน้ำบริเวณต้นเพื่อเพิ่มความชื้นภายในดิน และลดน้ำอีกที2-3วันต่อ 1 ครั้ง เมื่อ เริ่มโตแล้ว ให้เพิ่มจำนวนการให้น้ำมากขึ้น
- แตงกวาเป็นพืชที่ชอบน้ำ เมื่อต้นเริ่มโตเป็นไปได้ควรลดน้ำเช้าเย็น ระวังอย่าลดโดนลำต้น และใบ และถ้าลดมากเกินไปดินระบายน้ำไม่ทัน น้ำขังอาจทำให้เกิดรากเน่า หรือ โรคพืชที่จะมากับความชื้นได้
- แนะนำเทปน้ำหยดถ้ามีสามารถใช้ได้เช่นกัน ประหยัดน้ำ ประหยัดเวลา ลำต้นและใบจะไม่โดนน้ำ เนื่องจากน้ำที่ปล่อยจะโดนแค่ช่วงโคนต้น
ดอกของต้นแตงกวา
โดยดอกต้นแตงกวาจะมี 2 เพศ ใน 1 ต้น ก็คือ ดอกเพศเมียที่มีหน้าที่ในการออกผลแตงกวา และดอกเพศผู้ซึ่งจะผลิตละอองเกสรตัวผู้ ละอองเกสรเหล่านี้จะถูกแมลงนำไปผสมกับรังไข่ของดอกเพศเมีย แต่ใน 1 ต้น จะมีดอกเพศผู้มากกว่าเพศเมีย
โดยเฉลี่ยได้ว่า ดอกเพศเมีย 1 ดอก จะมีดอกเพศผู้อยู่ 2-3 ดอกเลยทีเดียวซึ่ง จะทำให้เกิดผลผลิตได้ค่อนข้างน้อยเลยทีเดียว ถ้าไม่ได้ใช้การฉีดพ่นฮอร์โมนแปลงเพศดอก โดยลักษณะของดอกแต่ละเพศสรุปได้ดังนี้
- ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยวที่มุมใบหรือข้อ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ และรังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 เซนติเมตร อยู่บริเวณโคนดอก
- ดอกเพศผู้ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ก้านดอกเรียว ไม่มีรังไข่ ดอกสีเหลืองจะใหญ่กว่า มีจำนวนมากกว่า 2-3 ดอก ต่อดอกเพศเมีย 1 ดอก
การฉีดฮอร์โมนให้ต้นแตงกวาเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในทางการเกษตรเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และป้องกันโรค ฮอร์โมนที่นิยมใช้ฉีดพ่นแตงกวามีดังนี้
- ฮอร์โมนไข่ ช่วยบำรุงต้นแตงกวา เร่งการเจริญเติบโต เพิ่มจำนวนใบ และช่วยให้แตงกวาออกดอกดก เป็นวิธีที่ไม่พึ่งสารเคมีสามารถทำได้จริง แต่ต้องแลกกับเวลาในการทำฮอร์โมนตัวนี้ออกมาใช้
- จิบเบอเรลลิน (GA) ช่วยยืดลำต้น เร่งการเจริญเติบโต และช่วยให้แตงกวาติดผลดก
- อินโดล-3-อะซีติกกรด (IAA) ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก ช่วยให้แตงกวาแข็งแรง ทนทานต่อโรค
- เอทิลีน ช่วยเร่งการออกดอก ช่วยให้แตงกวาติดผลเร็ว และช่วยให้ผลแตงกวาแก่เร็วขึ้น
การใช้ฮอร์โมนในแต่ละประเภท
- ฮอร์โมนไข่ ฉีดพ่นหลังจากแตงกวาเริ่มออกตาดอก ประมาณสัปดาห์ที่ 3 และช่วงที่แตงกวาให้ลูกเยอะที่สุด โดยฉีดพ่นฮอร์โมนไข่ 2 ครั้ง ระยะห่างแต่ละครั้ง 3 วัน
- จิบเบอเรลลิน (GA) ฉีดพ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อแตงกวามีอายุ 7-10 วัน และครั้งที่สองเมื่อแตงกวามีอายุ 15-20 วัน
- อินโดล-3-อะซีติกกรด (IAA) ฉีดพ่นเมื่อแตงกวามีอายุ 7-10 วัน
- เอทิลีน ฉีดพ่นเมื่อแตงกวามีอายุ 30-35 วัน
การให้ปุ๋ยต้นแตงกวาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ หรือ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
- ระยะหลังย้ายกล้า ประมาณ 7 วันหลังย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูง เช่น ยูเรีย หรือแอมโมเนียซัลเฟต อัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
- ระยะแตงกวาออกดอก ประมาณ 25 วันหลังย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
- ระยะติดผล ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 10-20-30 อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก 7-10 วัน
การเก็บเกี่ยวแตงกวา อายุการเก็บเกี่ยว
แตงกวาสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุประมาณ 30-40 วันหลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูก โดยสังเกตจากลักษณะดังนี้
- ผลมีขนาดพอเหมาะ โดยทั่วไปแล้วแตงกวามีขนาดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ขึ้นไป
- ผลมีสีเขียวสด ผลแตงกวาที่อ่อนเกินไปจะมีสีเขียวอ่อน เนื้อไม่แน่น ผลแตงกวาที่แก่เกินไปจะมีสีเขียวเหลือง เนื้อแข็งและมีเมล็ดมาก
- ผลมีหนามอ่อน ผลแตงกวาที่อ่อนจะมีหนามสีขาวปกคลุมทั่วผล ผลแตงกวาที่แก่จะมีหนามสีน้ำตาลและเริ่มหลุดร่วง
- ก้านผลมีสีเขียวสด ก้านผลแตงกวาที่อ่อนจะมีสีเขียวสด ก้านผลแตงกวาที่แก่จะมีสีเขียวเหลืองและเหี่ยวเฉา
วิธีการเก็บเกี่ยว
- ใช้กรรไกรหรือมีดคมตัดก้านผลแตงกวาเหนือข้อประมาณ 1-2 เซนติเมตร
- ไม่ควรดึงผลแตงกวาออกจากต้น เพราะอาจทำให้ต้นแตงกวาเสียหาย
- เก็บเกี่ยวผลแตงกวาในตอนเช้าหรือเย็น เมื่ออากาศไม่ร้อน
- คัดแยกผลแตงกวาที่สมบูรณ์และไม่มีรอยช้ำออกจากผลแตงกวาที่เสียหาย
- นำผลแตงกวาที่เก็บเกี่ยวไปเก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส ความชื้นประมาณ 80-90%
ข้อควรระวัง
- ไม่ควรเก็บเกี่ยวผลแตงกวาหลังฝนตก เพราะอาจทำให้ผลแตงกวาเน่าเสีย
- ไม่ควรเก็บเกี่ยวผลแตงกวาทั้งหมดในครั้งเดียว ควรทยอยเก็บเกี่ยวทุกๆ 1-2 วัน
- ไม่ควรเก็บเกี่ยวผลแตงกวาที่แก่เกินไป เพราะเนื้อจะแข็งและมีเมล็ดมาก
โรคที่พบได้บ่อยในการปลูกแตงกวาแบบค้าง ปลูกพืชตระกูลแตง
โรคหลักๆที่พบได้ในการปลูกตระกูลแตงมีดังต่อไปนี้
1.โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)
เกิดจาก : เชื้อรา Pseudoperonospora cubensis
อาการ : ใบมีจุดสีเขียวอ่อน ต่อมาจะมีจุดสีเหลืองไปจนถึงสีน้ำตาล ใต้ใบมีราสีขาวปกคลุม ลุกลามจนใบแห้งตาย พืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย คุณภาพของผลผลิตลดลง
การป้องกัน : เลือกปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรค ไม่ปลูกแน่นจนเกินไปเว้นระยะห่างช่องปลูกให้เหมาะสมเพื่อลดความชื้น ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ ไตรอาโคนาโซล
2.โรคใบจุด (LEAF SPOT DISEASE)
เกิดจาก : เชื้อ Phomopsis sp.
อาการ : ใบของพืชจะเป็นจุด สีน้ำตาล กลม หรือ ออกไปทางลักษณะสี่เหลี่ยม ตามขอบแผลมีสีเหลือง ดูซ้อนเป็นชั้นๆ จนมีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ
การป้องกัน : เลือกปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรค เก็บเศษใบและผลที่ติดเชื้อทำลายทิ้ง ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด เช่น แมนโคเซบ ไอโพรไอโดน ซีเนบ
3.โรคใบด่าง (Mosaic)
เกิดจาก : เชื้อไวรัส Cucumber mosaic virus (CMV)
อาการ : ช่วงต้นกล้า จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ใบเลี้ยงที่แตกออกมาจะเป็นสีเหลืองและตาย หากเป็นต้นที่โตแล้ว ใบจะหดเล็ก ขอบใบม้วนงอ ลำต้นแคราะแกร็น ใบจะมีสีเหลืองจนเหี่ยวตายๆ
การป้องกัน : เลือกปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรค กำจัดแมลงศัตรูพืชที่เป็นพาหะนำโรค เช่น เพลี้ยอ่อน
เก็บเศษใบและผลที่ติดเชื้อทำลายทิ้ง การปลูกพืชหมุนเวียน
4.โรคผลเน่า (Fruit rot)
เกิดจาก : เชื้อราหลายชนิด เช่น Pythium spp., Rhizoctonia solani, Botrytis cinerea
อาการ : ผลแตงกวามีจุดสีน้ำตาล เน่า และลุกลามจนผลเน่าเสีย ที่เกิดมาจากความชื้นที่มากเกินไป
การป้องกัน : เก็บเกี่ยวผลแตงกวาเมื่อแก่จัด เก็บผลแตงกวาที่ช้ำหรือแตกเสียทิ้ง เก็บผลแตงกวาในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ทำลายกำจัดผลแตงที่มีโรค อย่าให้สัมผัสกับ ดิน และต้นอื่นๆ
5.โรคโคนเน่าระดับคอดิน damping off cucumber
เกิดจาก : เชื้อรา 2 ชนิด debaryanum และ Pythium aphanidermatum
อาการ : โคนต้นแตงกวามีสีน้ำตาลหรือดำ ลำต้นอ่อนแอ เปราะบาง ใบเหลือง เหี่ยวเฉา ต้นแตงกวาอาจตาย
การป้องกัน : เลือกปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรค หมุนเวียนการปลูกพืช ปรับสภาพดินให้ระบายน้ำได้ดี หลีกเลี่ยงการรดน้ำที่โคนต้น ให้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนเลท แมนโคเซบ ไตรอาโคนาโซล
โดยส่วนนี้เป็นเพียงโรคเบื้องต้นที่สามารถพบได้บ่อยในการปลูกแตงกวา ควรที่จะศึกษาวิธีรักษาป้องกันเพิ่มเติม เพื่อผลผลิตที่สมบูรณ์ โตทันตามวันเวลาที่กำหนดไว้
สรุป
การปลูกแตงกวาแบบค้าง ประหยัดพื้นที่ปลูก สะดวก ดูแลง่าย อากาศถ่ายเทสะดวก ติดตั้งง่าย รื้อทิ้งง่ายเมื่อมีการระบาดของโรค พยายามทำค้างให้แข็งแรง ดินที่ใช้ควรเป็นดินร่วนปนทรายเพื่อการระบายน้ำที่ดี ต้นแตงกวาโดดแดดได้ทั่วถึงเมื่อแตงกวาออกผลให้ทะยอยเก็บไม่ควรเก็บทีเดียวหมด และไม่ควรปล่อยผลแตงกวาให้แก่คาต้นจนผลเน่าเสี่ยงเป็นโรค